back to News & Article

เส้นทางสู่การเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย

1 ส.ค. 2558 21:24 น.

 

หลักสูตรติวสอบ P/ FM จำกัดจำนวนผู้เรียน 25 ที่นั่งเท่านั้น  เริ่มเรียนกลางเดือนมกราคม ปี 2559  และไปจบที่เดือน มิถุนายน (พิเศษที่หาที่ไหนไม่ได้ เรียนซ้ำได้ไม่จำกัดจนกว่าจะสอบผ่าน)

 

การสอบเอาคุณวุฒิระดับต้นนั้น จำเป็นจะต้องสอบผ่านทั้ง 5 ตัวดังต่อไปนี้

Preliminary exams

  1. Exam FM – Financial Mathematics
  2. Exam P – Probability
  3. Exam MLC – Model for Life Contingencies
  4. Exam MFE – Model for Financial Economics
  5. Exam C – Construction and Evaluation of Actuarial Models

 

Preliminary exams – Exam FM

เกี่ยวข้องกับ ความหมายของคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์การเงิน เช่น อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย มูลค่าปัจจุบัน มูลค่าอนาคต หุ้น พันธบัตร และการคำนวณเกี่ยวกับสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น รวมทั้งการคำนวณการชำระหนี้แบบต่างๆ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์ รวมถึงการหาผลตอบแทนของตราสารอนุพันธ์

 

Preliminary exams – Exam P

ความน่าจะเป็น ซึ่งเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับ ความน่าจะเป็นทั่วไป การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบต่างๆ ทั้งแบบต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องสำหรับหนึ่งตัวแปรและหลายตัวแปร

 

Preliminary exams – Exam MLC

คณิตศาสตร์ประกันภัย ที่จะเกี่ยวข้องกับตัวแบบความอยู่รอดแบบต่างๆ ซึ่งได้นำมาคิดเป็นเงินรายงวด เบี้ยประกันภัย และเงินสำรองประกันภัย แบบจำลองห่วงโซ่มาคอฟ (Markov chain model) และกระบวนการปัวร์ซอง (Poisson Process) การจะสอบตัวนี้ได้นั้น ผู้สอบควรจะมีพื้นฐานจาก ExamFM และ Exam P โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของคณิตศาสตร์การเงินและความน่าจะเป็นให้แน่นเสียก่อน

 

Preliminary exams – Exam MFE

การคำนวณตราสารอนุพันธ์ (Derivative) แบบจำลองราคาหุ้น การคำนวณเกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์ดัวยวิธี Black-Scholes และ Binomial tree การวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของราคาตราสารอนุพันธ์จากพารามิเตอร์ของสูตร Black-Scholes การจัดการความเสี่ยงโดยการทำ Delta hedging การคำนวณเกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์แบบพิเศษ (Exotic options) และแบบจำลองอัตราดอกเบี้ยการจะสอบตัวนี้ได้นั้น ผู้สอบควรจะมีพื้นฐานจาก ExamFM โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของตราสารอนุพันธ์ (Derivative) ให้แน่นเสียก่อน

 

Preliminary exams – Exam C

การใช้ความรู้ทางสถิติ ตัวแบบความรุนแรง (Severity model) ตัวแบบความถี่ (Frequency model) ตัวแบบรวม (Aggregate model) การคิดค่าสถิติของแบบประกันที่มี Deductible, Limits หรือ Coinsurance การประเมินความเสี่ยงโดยใช้ VaR (Value at risk) การสร้างแบบจำลอง Empirical การสร้างและการเลือกแบบจำลอง Parametric การใช้ทฤษฎี Credibility และการจำลอง (Simulation)

  

 

็How to register

go to top
Intensive
Course

How to register?

แต่ละหลักสูตรจะใช้เวลาเรียนพร้อมทำโจทย์ประมาณ 100 ชั่วโมง ซึ่งจะเปิดปีละ 2 ครั้งเท่านั้น

เนื่องจากแต่ละครั้งจะจำกัดจำนวนที่นั่ง สามารถลงทะเบียนจองสิทธิ์ล่วงหน้าได้

"ติดต่อสอบถามได้ที่นี่"

 

Intensive
Course
P
Intensive
Course
FM